หัวข้อ   “ผู้ใช้แรงงาน กับสิ่งที่ร้องขอในวันแรงงานแห่งชาติ”
 
                 ผู้ใช้แรงงาน 91.1% ชี้ค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันไม่พอดำรงชีพ ขอเพิ่มขึ้น
เป็น 290 บาทต่อวัน
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม นี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานภายใต้หัวข้อ “
ผู้ใช้แรงงาน กับ
สิ่งที่ร้องขอในวันแรงงานแห่งชาติ
” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล จำนวน 1,073 คน พบว่า
 
                 ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1   ระบุว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน
ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ   โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพเฉลี่ยควรอยู่ที่
290 บาทต่อวัน
 
                 เมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่หาเสียงอยู่
ในขณะนี้ พบว่า ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น
ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 57.9 ยังคงมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวยังคงไม่เพียงพอต่อการ
ดำรงชีพอยู่ดี   และร้อยละ 63.7 ก็ยังไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง   ในส่วนนโยบาย
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย  ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 88.2 เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวเพียงพอต่อค่า
ครองชีพ  และร้อยละ 54.0 เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง  เมื่อให้ผู้ใช้แรงงานเปรียบเทียบทั้ง 2 นโยบายพบว่า 
ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 84.5 ชอบ นโยบายของพรรคเพื่อไทยมากกว่า
   
                 สำหรับแนวคิดการจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 53.3
เชื่อว่าจะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้
  ซึ่งการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานดังกล่าว
ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 82.2 เชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวมเพิ่มขึ้น
   
                 ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการ มากที่สุดเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ คือ
ต้องการให้ขึ้นค่าแรง โบนัส เบี้ยขยัน รวมถึงดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่า
ค่าจ้างขั้นต่ำ)และจ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง (ร้อยละ 58.4)
 
                 ด้านสิ่งที่ต้องการร้องขอจากรัฐบาลให้เข้ามาดูแล พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ เรื่องค่าแรง/
ค่าจ้าง (ร้อยละ 45.1)
  รองลงมาต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการ (ร้อยละ 25.4)   และเรื่องคุณภาพชีวิต
(ร้อยละ 16.4)
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
 
             1. ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีพหรือไม่ (ค่าจ้างขั้นต่ำพื้นที่ กทม. และปริมณฑล
                 อยู่ที่ 215 บาทต่อวัน)

 
ร้อยละ
เพียงพอ
8.9
ไม่เพียงพอ
91.1
                  โดยคิดว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวัน จึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีพ
 
 
             2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้

นโยบาย
ความเพียงพอ
ต่อการดำรงชีพ
การทำได้จริงของนโยบาย
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25%
ภายใน 2 ปี

(พรรคประชาธิปัตย์)
เพียงพอ ร้อยละ 42.1
ไม่เพียงพอ ร้อยละ 57.9
เชื่อว่าจะทำได้ ร้อยละ 36.3
ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ร้อยละ 63.7
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น
300 บาท ต่อวัน
(พรรคเพื่อไทย)
เพียงพอ ร้อยละ 88.2
ไม่เพียงพอ ร้อยละ 11.8
เชื่อว่าจะทำได้ ร้อยละ 54.0
ไม่เชื่อว่าจะทำได้ ร้อยละ 46.0
 
 
             3. ความชอบในนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของ 2 พรรคใหญ่

 
ร้อยละ
ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี
ของพรรคประชาธิปัตย์ มากกว่า
15.5
ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
ของพรรคเพื่อไทย มากกว่า
84.5
 
 
             4. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ในอนาคตอันใกล้นี้จะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ใน
                 ระดับที่ควรจะเป็นได้หรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าสามารถช่วยได้
53.3
เชื่อว่าไม่สามารถช่วยได้
7.9
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ตอบไม่ได้
38.8
 
 
 
             5. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวม
                 เพิ่มขึ้นได้หรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น
82.2
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
16.3
เชื่อว่าจะลดลง
1.5
 
             6. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการมากที่สุด   เนื่องในวันแรงงาน
                 แห่งชาติ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
1. ขอขึ้นค่าแรง/ขอโบนัส/ขอเบี้ยขยัน/ดูแลค่าจ้างให้เหมาะสม
    กับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)/
    จ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง
58.4
2. ขอสวัสดิการที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินกู้สวัสดิการต่างๆ
20.6
3. ขอให้เอาใจใส่ลูกน้อง/ดูแลกันให้ดีกว่านี้/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟัง
    ปัญหาของลูกน้อง/ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมกับลูกน้อง
9.5
4. ขอให้ช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง คือ ได้สิทธิหยุดวันหยุดในวัน
    นักขัตฤกษ์ ไม่ควรทำงานเกินวันละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับ OT
    และควรมีกิจกรรมท่องเที่ยวหรืองานเลี้ยงสังสรรค์บ้าง
6.9
5. อื่นๆ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานและระบบงาน/ทำตามสัญญาที่ให้ไว้
    กับลูกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น
4.6
 
 
             7. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล/พัฒนา/ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด

 
ร้อยละ
ค่าแรง/ค่าจ้าง
45.1
สวัสดิการ
25.4
การดูแลคุณภาพชีวิต
16.4
ความปลอดภัยในการทำงาน
6.9
การพัฒนาฝีมือแรงงาน
2.7
อื่นๆ (ระบุ) ให้นายจ้างปฎิบัติตามกฏหมายแรงงาน
3.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อศึกษาความเพียงพอของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อค่าครองชีพหรือไม่
                  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของสองพรรคใหญ่
                  3. เพื่อสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานร้องขอต่อนายจ้างและรัฐบาล
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างกับประชาชนผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์แบบพบตัวได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,073 คน  เป็นชายร้อยละ 52.0  และหญิงร้อยละ 48.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก
ข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  22 - 24 เมษายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 เมษายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
558
52.0
             หญิง
515
48.0
รวม
1,073
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
306
28.5
             26 – 35 ปี
309
28.8
             36 – 45 ปี
250
23.3
             46 ปีขึ้นไป
208
19.4
รวม
1,073
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,000
93.2
             ปริญญาตรี
72
6.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
1
0.1
รวม
1,073
100.0
อาชีพ (ผู้ใช้แรงงาน):
 
 
             โรงงานอุตสาหกรรม/กรรมกรก่อสร้าง
119
11.1
             รปภ./นักการภารโรง/คนขับรถ
175
16.3
             แม่บ้าน/คนสวน
142
13.2
             คนส่งเอกสาร/รับจ้างทั่วไป
133
12.4
             พนักงานบริการ/หมอนวดแผนโบราณ
172
16.0
             พนักงานขาย/พนักงานคิดเงิน
197
18.4
             ช่างไฟฟ้า/ช่างซ่อม
82
7.6
             อื่นๆ เช่น พี่เลี้ยงเด็ก/ซักรีด/พ่อครัว
53
5.0
รวม
1,073
100.0
รายได้ (บาทต่อวัน):
 
 
             ต่ำกว่า 215 บาท
135
12.5
             215 บาท (ค่าจ้างขั้นต่ำ)
167
15.6
             216 – 299 บาท
383
35.7
             300 บาทขึ้นไป
388
36.2
รวม
1,073
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776